หลักสูตร การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตด้วย DOJO Training System

Posted on Posted in Public Training

ให้บริการด้านการฝึกอบรม บุคลากรด้านการจัดการและอนุรักษ์พลังงาน บุคลากรด้านบริหารการผลิต
อบรมบุคลากรด้านการบริหารควบคุมและประกันคุณภาพ

หลักสูตร การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตด้วย DOJO Training System

หลักการและเหตุผล

ในการออกแบบกระบวนการผลิตใหม่ (New Process) หรือปรับปรุงกระบวนการผลิต (Process Improvement) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดความผิดพลาด ลดความบกพร่อง ลดของเสียในกระบวนการผลิต เพิ่มผลผลิต (Productivity)

“เจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมคุณภาพ” = ต้องมีทักษะในการใช้เครื่องมือวัด (Measuring Tools) ขั้นสูง เพื่อการควบคุมคุณภาพชิ้นงานที่ถูกต้องและแม่นยำ

“เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการในกระบวนการผลิต” = ต้องประกอบชิ้นงานในสายการผลิตไม่ผิดพลาด ไม่ข้ามกระบวนการ (Skip Process) ท่าทางการเคลื่อนไหวถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomic) มีความแม่นยำในปฏิบัติงานแต่ละจุดเป็นไปตามเวลาที่กำหนดไว้ คือ Takt  Time , Cycle Time , Standard Time เป็นต้น

DOJO Training จึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือด้านการฝึกอบรมพัฒนาเจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมคุณภาพและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการในกระบวนการผลิตที่ทรงประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นมากกว่าการอบรม

“DO (โด)” = มาจากภาษาญี่ปุ่น แปลว่า วิธีการปฏิบัติหรือแนวทางปฏิบัติ

“JO (โจ)” = มาจากภาษาญี่ปุ่น แปลว่า ห้องโถงหรือสถานที่ขนาดใหญ่

DOJO Training หมายถึง สถานที่ใช้สำหรับฝึกปฏิบัติ วิธีการต่างๆ เปรียบเสมือนเป็นโรงเรียน เมื่อพนักงานเข้ามาในสถานที่นี้พนักงานสามารถเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎี รวมทั้งได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติด้วยตัวเองจนเข้าใจและชำนาญ แล้วค่อยส่งพนักงานเข้าไปปฏิบัติงานตามจุดต่างๆ ซึ่งใน OEM หรือโรงงานขนาดใหญ่จะสร้างสถานที่หรือห้อง DOJO Training ไว้เฉพาะและจะใช้ฝึกอบรมพนักงานฝ่าย QC และฝ่ายผลิตในลักษณะนี้ ซึ่งระบบ DOJO Training สามารถทำได้หลายรูปแบบและปรับใช้กับหน้างานได้หลากหลาย อาทิ เช่น

  • Measurement & Inspection DOJO Training
  • DOJO Genba process improvement simulation
  • Process DOJO Training

วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม

  1. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจแนวคิดในการทำ DOJO Training
  2. เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกด้านคุณภาพและพฤติกรรมในการทำงานโดยใช้แนวทาง DOJO Training
  3. เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดความผิดพลาด ลดความบกพร่อง ลดของเสียในกระบวนการผลิต เพิ่มผลผลิต อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
  4. เพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติงานให้พนักงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

เนื้อหาหลักสูตร : เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตด้วย DOJO Training System

เวลา

หัวข้อการฝึกอบรม

08.30 – 09.00

ลงทะเบียน

 09.00 – 10.30

• กิจกรรมละลายพฤติกรรม

• วัตถุประสงค์และขอบเขตของ DOJO Training

• เทคนิคการสอนงานและประเมินประสิทธิภาพการทำงานพนักงานตามหลัก  DOJO Training

• การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง Work Instruction (WI) กับการปฏิบัติงานของพนักงานในกระบวนการผลิตตามหลัก DOJO Training

• ขั้นตอนการเขียนสคริป และถ่ายทำ VDO เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการฝึกอบรมพนักงาน

–  ขั้นตอนการใช้เครื่องมือวัด (Inspection) เพื่อใช้ฝึกอบรมพนักงาน

–  ขั้นตอนต่างๆในกระบวนการผลิต

10.30 – 10.45

พักเบรก

10.45 – 12.00

• การเขียนใบมาตรฐานการทำงาน (Standard Operation Sheet) SOS ==> Workshop

–  ปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงาน (ขั้นตอนการทำงาน)

–  ปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงาน (จุดสำคัญของงาน)

–  ปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงาน (ระยะเวลาที่ใช้ในการทำงาน)

–  ปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงาน (ด้านความปลอดภัย)

–  ปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงาน (ความเรียบร้อยด้านคุณภาพ)

• การเขียนใบประเมินมาตรฐานการฝึกอบรมของพนักงาน DOJO Training System

12.00 – 13.00

พักเบรกกลางวัน
 

13.00 – 14.00

• การออกแบบชุดคิท (Kit set Training) สำหรับฝึกอบรม

–  ชุดฝึกอบรมทักษะ ==> ความสัมพันธ์ระหว่างตากับมือของพนักงาน (Eye Vs Hand)

–  ชุดฝึกอบรมทักษะ ==> การเดินของพนักงาน (Walking)

–  ชุดฝึกอบรมทักษะ ==> การนับเวลา (Time Counting)

–  ชุดฝึกอบรมทักษะ ==> ความสัมพันธ์ระหว่างหูกับมือ (Ear Vs Hand)

• การออกแบบลำดับผังขั้นตอนการอบรม

–   ชุดการบอร์ดการเรียน / การสอน

–   ชุด VDO ประกอบการเรียน / การสอน

–   ชิ้นงานจริง Single & Assembly Part

–   Functional Part

–   การจำลองกระบวนการผลิตกระบวนการปฏิบัติงานเฉพาะจุด (Process Simulation)

• การกำหนดผู้ฝึกอบรม / ผู้ประเมิน / และเกณฑ์การยอมรับ

14.00 – 14.15

พักเบรก

14.15 – 16.00

• วิธีการเก็บข้อมูลในแต่ละขั้นตอนเพื่อปรับปรุงแก้ไข

 

 

• ผู้เข้าอบรมร่วมกันระดมสมอง ทำกิจกรรมกลุ่ม Work shop โดยจำลองกระบวนการผลิต และ case study + นำเสนอผลการวิเคราะห์และอภิปราย

สรุปและถาม – ตอบ

 

วิทยากร :  อาจารย์พิทักษ์  บุญชม

ประวัติการศึกษา

  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีสาขา วิศวกรรมเครื่องกล
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตขอนแก่น(ไทย – เยอรมัน) สาขา เครื่องกล

ประสบการณ์ด้านโรงงานอุตสาหกรรม

  • ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายควบคุมและประกันคุณภาพ บริษัท YOUNGSIN METAL (THAILAND)
  • ผู้จัดการฝ่ายควบคุมและประกันคุณภาพ บริษัท YOUNGSIN METAL (THAILAND)
  • หัวหน้าทีมวิศวกรอาวุโสฝ่ายควบคุมและประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ใหม่ บริษัท มาสด้า พาวเวอร์เทรน แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
  • หัวหน้าฝ่ายประกันและควบคุมคุณภาพ บริษัท แอดวิคส แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
  • หัวหน้าฝ่ายวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และควบคุมคุณภาพ บริษัท มาคิตะ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
  • หัวหน้าฝ่ายประกันและควบคุมคุณภาพ บริษัท ปัญจวัฒนาพลาสติก จำกัด(มหาชน)
  • หัวหน้าโครงการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และรักษาการหัวหน้าแผนกประกันคุณภาพ บริษัท สุภาวุฒิ อินดัสทรี จำกัด
  • หัวหน้าแผนกควบคุมคุณภาพ บริษัท ไทเซอิ พลาส ( ประเทศไทย ) จำกัด
  • หัวหน้าแผนกประกันและควบคุมคุณภาพ บริษัท เอสเจ มิโครน จำกัด
  • วิศวกรฝ่ายประกันคุณภาพ บริษัท อินเนอร์ยี่ ออโตโมทิฟ ซิสเต็มส์ ( ประเทศไทย ) จำกัด
  • วิศวกรฝ่ายควบคุมคุณภาพและระบบการควบคุมสารปนเปื้อนในอุสาหกรรมยานยนต์ ( SOC, ELV, RoHS, REACH – SVHC, IMDS, PFOS, PFOA, DMF, Etc. ) บริษัท ไทยซัมมิท มิทซูบะ อิเล็กทริค แมนูแฟคเจอริ่ง จากัด
  • วิศวกรโรงงานฝ่ายควบคุมคุณภาพ บริษัท เอ็น ซี ไอ จำกัด
  • วิศวกรเครื่องกล บริษัท บิลเลี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
  • วิศวกรที่ปรึกษาด้านการอนุรักษ์พลังงานหม้อไอน้ำ บริษัท มาสเตอร์ คอม เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

ประสบการณ์ฝึกอบรมต่างประเทศ

  • ศึกษาดูงาน / ฝึกอบรมหลักการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ขั้นสูงและเทคนิคการวิเคราะห์ปัญหาและเทคนิคการวิเคราะห์ปัญหา หาสาเหตุผลิตภัณฑ์ขั้นสูง ที่บริษัท มาสด้า คอร์ปอเรชั่น ณ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลา 4 เดือน
  • ศึกษาดูงาน / ฝึกอบรมหลักการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ขั้นสูงที่บริษัท ยังซิน เมทัล จำกัด ณ ประเทศเกาหลีใต้ เป็นเวลา 45 วัน
  • ฝึกอบรม หัวข้อระบบวัสดุสากลขั้นพื้นฐานและขั้นสูง Basic & Advance International Material Data System (IMDS), REACH / RoHS , Conflict Mineral, Carbon Footprint for Organization : CFO, Carbon Footprint for Product : CFP, Life Cycle Assessment : LCA, ISO 50001 อนุรักษ์พลังงาน ENSYS , EnMS ณ ประเทศอินเดีย

ประสบการณ์ด้านวิทยากรที่ปรึกษา

  • เป็นวิทยากรที่ปรึกษาในด้านกฎระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ อาทิ เช่น ระบบรายงานวัสดุสากลขั้นพื้นฐานและขั้นสูง Basic & Advance International Material Data System ( IMDS ), การพัฒนาพนักงานฝ่ายควบคุมคุณภาพและฝ่ายผลิต, การวิเคราะห์ปัญหางาน, ภาวะผู้นำ, การสร้างพนักงานคุณภาพในองค์กร, การควบคุมคุณภาพ, และการอนุรักษ์พลังงาน, ระบบการควบคุมสารปนเปื้อนในอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิคส์ อุตสาหกรรมไฟฟ้า และอุตสาหกรรมอื่นๆ ให้กับโรงงานและบริษัทฯ เป็นจำนวนมาก

 

ลักษณะการอบรม :

  1. การบรรยายสื่อสาร 2 ทาง โดยทฤษฎี 30 % ปฏิบัติ 70 %
  2. ทำ Workshop กิจกรรมกลุ่ม + นำเสนอผลการวิเคราะห์และอภิปราย

Note : สอนจากประสบการณ์ในการทำงานจริง และการฝึกอบรมจากต่างประเทศ

 

ผู้ควรเข้ารับการอบรม

  • ผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ , อุตสาหกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์, อุตสาหกรรมอื่นๆ
  • วิศวกรทุกส่วนงาน ผู้จัดการ ผู้บริหาร
  • หัวหน้างาน QC/QA , R&D, New Model
  • ช่างเทคนิค
  • บุคลากรที่เกี่ยวข้อง หัวหน้างาน