ให้บริการด้านการฝึกอบรม บุคลากรด้านการจัดการและอนุรักษ์พลังงาน บุคลากรด้านบริหารการผลิต
อบรมบุคลากรด้านการบริหารควบคุมและประกันคุณภาพ
หลักสูตร การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตด้วย DOJO Training System
ในการออกแบบกระบวนการผลิตใหม่ (New Process) หรือปรับปรุงกระบวนการผลิต (Process Improvement) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดความผิดพลาด ลดความบกพร่อง ลดของเสียในกระบวนการผลิต เพิ่มผลผลิต (Productivity)
“เจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมคุณภาพ” = ต้องมีทักษะในการใช้เครื่องมือวัด (Measuring Tools) ขั้นสูง เพื่อการควบคุมคุณภาพชิ้นงานที่ถูกต้องและแม่นยำ
“เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการในกระบวนการผลิต” = ต้องประกอบชิ้นงานในสายการผลิตไม่ผิดพลาด ไม่ข้ามกระบวนการ (Skip Process) ท่าทางการเคลื่อนไหวถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomic) มีความแม่นยำในปฏิบัติงานแต่ละจุดเป็นไปตามเวลาที่กำหนดไว้ คือ Takt Time , Cycle Time , Standard Time เป็นต้น
DOJO Training จึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือด้านการฝึกอบรมพัฒนาเจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมคุณภาพและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการในกระบวนการผลิตที่ทรงประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นมากกว่าการอบรม
“DO (โด)” = มาจากภาษาญี่ปุ่น แปลว่า วิธีการปฏิบัติหรือแนวทางปฏิบัติ
“JO (โจ)” = มาจากภาษาญี่ปุ่น แปลว่า ห้องโถงหรือสถานที่ขนาดใหญ่
DOJO Training หมายถึง สถานที่ใช้สำหรับฝึกปฏิบัติ วิธีการต่างๆ เปรียบเสมือนเป็นโรงเรียน เมื่อพนักงานเข้ามาในสถานที่นี้พนักงานสามารถเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎี รวมทั้งได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติด้วยตัวเองจนเข้าใจและชำนาญ แล้วค่อยส่งพนักงานเข้าไปปฏิบัติงานตามจุดต่างๆ ซึ่งใน OEM หรือโรงงานขนาดใหญ่จะสร้างสถานที่หรือห้อง DOJO Training ไว้เฉพาะและจะใช้ฝึกอบรมพนักงานฝ่าย QC และฝ่ายผลิตในลักษณะนี้ ซึ่งระบบ DOJO Training สามารถทำได้หลายรูปแบบและปรับใช้กับหน้างานได้หลากหลาย อาทิ เช่น
- Measurement & Inspection DOJO Training
- DOJO Genba process improvement simulation
- Process DOJO Training
วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม
- เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจแนวคิดในการทำ DOJO Training
- เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกด้านคุณภาพและพฤติกรรมในการทำงานโดยใช้แนวทาง DOJO Training
- เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดความผิดพลาด ลดความบกพร่อง ลดของเสียในกระบวนการผลิต เพิ่มผลผลิต อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
- เพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติงานให้พนักงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เนื้อหาหลักสูตร : เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตด้วย DOJO Training System
เวลา |
หัวข้อการฝึกอบรม |
08.30 – 09.00 |
ลงทะเบียน |
09.00 – 10.30 |
• กิจกรรมละลายพฤติกรรม • วัตถุประสงค์และขอบเขตของ DOJO Training • เทคนิคการสอนงานและประเมินประสิทธิภาพการทำงานพนักงานตามหลัก DOJO Training • การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง Work Instruction (WI) กับการปฏิบัติงานของพนักงานในกระบวนการผลิตตามหลัก DOJO Training • ขั้นตอนการเขียนสคริป และถ่ายทำ VDO เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการฝึกอบรมพนักงาน – ขั้นตอนการใช้เครื่องมือวัด (Inspection) เพื่อใช้ฝึกอบรมพนักงาน – ขั้นตอนต่างๆในกระบวนการผลิต |
10.30 – 10.45 |
พักเบรก |
10.45 – 12.00 |
• การเขียนใบมาตรฐานการทำงาน (Standard Operation Sheet) SOS ==> Workshop – ปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงาน (ขั้นตอนการทำงาน) – ปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงาน (จุดสำคัญของงาน) – ปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงาน (ระยะเวลาที่ใช้ในการทำงาน) – ปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงาน (ด้านความปลอดภัย) – ปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงาน (ความเรียบร้อยด้านคุณภาพ) • การเขียนใบประเมินมาตรฐานการฝึกอบรมของพนักงาน DOJO Training System |
12.00 – 13.00 |
พักเบรกกลางวัน |
13.00 – 14.00 |
• การออกแบบชุดคิท (Kit set Training) สำหรับฝึกอบรม – ชุดฝึกอบรมทักษะ ==> ความสัมพันธ์ระหว่างตากับมือของพนักงาน (Eye Vs Hand) – ชุดฝึกอบรมทักษะ ==> การเดินของพนักงาน (Walking) – ชุดฝึกอบรมทักษะ ==> การนับเวลา (Time Counting) – ชุดฝึกอบรมทักษะ ==> ความสัมพันธ์ระหว่างหูกับมือ (Ear Vs Hand) • การออกแบบลำดับผังขั้นตอนการอบรม – ชุดการบอร์ดการเรียน / การสอน – ชุด VDO ประกอบการเรียน / การสอน – ชิ้นงานจริง Single & Assembly Part – Functional Part – การจำลองกระบวนการผลิตกระบวนการปฏิบัติงานเฉพาะจุด (Process Simulation) • การกำหนดผู้ฝึกอบรม / ผู้ประเมิน / และเกณฑ์การยอมรับ |
14.00 – 14.15 |
พักเบรก |
14.15 – 16.00 |
• วิธีการเก็บข้อมูลในแต่ละขั้นตอนเพื่อปรับปรุงแก้ไข
• ผู้เข้าอบรมร่วมกันระดมสมอง ทำกิจกรรมกลุ่ม Work shop โดยจำลองกระบวนการผลิต และ case study + นำเสนอผลการวิเคราะห์และอภิปราย สรุปและถาม – ตอบ |
วิทยากร : อาจารย์พิทักษ์ บุญชม
ประวัติการศึกษา
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีสาขา วิศวกรรมเครื่องกล
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตขอนแก่น(ไทย – เยอรมัน) สาขา เครื่องกล
ประสบการณ์ด้านโรงงานอุตสาหกรรม
- ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายควบคุมและประกันคุณภาพ บริษัท YOUNGSIN METAL (THAILAND)
- ผู้จัดการฝ่ายควบคุมและประกันคุณภาพ บริษัท YOUNGSIN METAL (THAILAND)
- หัวหน้าทีมวิศวกรอาวุโสฝ่ายควบคุมและประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ใหม่ บริษัท มาสด้า พาวเวอร์เทรน แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
- หัวหน้าฝ่ายประกันและควบคุมคุณภาพ บริษัท แอดวิคส แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
- หัวหน้าฝ่ายวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และควบคุมคุณภาพ บริษัท มาคิตะ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
- หัวหน้าฝ่ายประกันและควบคุมคุณภาพ บริษัท ปัญจวัฒนาพลาสติก จำกัด(มหาชน)
- หัวหน้าโครงการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และรักษาการหัวหน้าแผนกประกันคุณภาพ บริษัท สุภาวุฒิ อินดัสทรี จำกัด
- หัวหน้าแผนกควบคุมคุณภาพ บริษัท ไทเซอิ พลาส ( ประเทศไทย ) จำกัด
- หัวหน้าแผนกประกันและควบคุมคุณภาพ บริษัท เอสเจ มิโครน จำกัด
- วิศวกรฝ่ายประกันคุณภาพ บริษัท อินเนอร์ยี่ ออโตโมทิฟ ซิสเต็มส์ ( ประเทศไทย ) จำกัด
- วิศวกรฝ่ายควบคุมคุณภาพและระบบการควบคุมสารปนเปื้อนในอุสาหกรรมยานยนต์ ( SOC, ELV, RoHS, REACH – SVHC, IMDS, PFOS, PFOA, DMF, Etc. ) บริษัท ไทยซัมมิท มิทซูบะ อิเล็กทริค แมนูแฟคเจอริ่ง จากัด
- วิศวกรโรงงานฝ่ายควบคุมคุณภาพ บริษัท เอ็น ซี ไอ จำกัด
- วิศวกรเครื่องกล บริษัท บิลเลี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
- วิศวกรที่ปรึกษาด้านการอนุรักษ์พลังงานหม้อไอน้ำ บริษัท มาสเตอร์ คอม เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
ประสบการณ์ฝึกอบรมต่างประเทศ
- ศึกษาดูงาน / ฝึกอบรมหลักการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ขั้นสูงและเทคนิคการวิเคราะห์ปัญหาและเทคนิคการวิเคราะห์ปัญหา หาสาเหตุผลิตภัณฑ์ขั้นสูง ที่บริษัท มาสด้า คอร์ปอเรชั่น ณ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลา 4 เดือน
- ศึกษาดูงาน / ฝึกอบรมหลักการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ขั้นสูงที่บริษัท ยังซิน เมทัล จำกัด ณ ประเทศเกาหลีใต้ เป็นเวลา 45 วัน
- ฝึกอบรม หัวข้อระบบวัสดุสากลขั้นพื้นฐานและขั้นสูง Basic & Advance International Material Data System (IMDS), REACH / RoHS , Conflict Mineral, Carbon Footprint for Organization : CFO, Carbon Footprint for Product : CFP, Life Cycle Assessment : LCA, ISO 50001 อนุรักษ์พลังงาน ENSYS , EnMS ณ ประเทศอินเดีย
ประสบการณ์ด้านวิทยากรที่ปรึกษา
- เป็นวิทยากรที่ปรึกษาในด้านกฎระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ อาทิ เช่น ระบบรายงานวัสดุสากลขั้นพื้นฐานและขั้นสูง Basic & Advance International Material Data System ( IMDS ), การพัฒนาพนักงานฝ่ายควบคุมคุณภาพและฝ่ายผลิต, การวิเคราะห์ปัญหางาน, ภาวะผู้นำ, การสร้างพนักงานคุณภาพในองค์กร, การควบคุมคุณภาพ, และการอนุรักษ์พลังงาน, ระบบการควบคุมสารปนเปื้อนในอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิคส์ อุตสาหกรรมไฟฟ้า และอุตสาหกรรมอื่นๆ ให้กับโรงงานและบริษัทฯ เป็นจำนวนมาก
ลักษณะการอบรม :
- การบรรยายสื่อสาร 2 ทาง โดยทฤษฎี 30 % ปฏิบัติ 70 %
- ทำ Workshop กิจกรรมกลุ่ม + นำเสนอผลการวิเคราะห์และอภิปราย
Note : สอนจากประสบการณ์ในการทำงานจริง และการฝึกอบรมจากต่างประเทศ
ผู้ควรเข้ารับการอบรม
- ผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ , อุตสาหกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์, อุตสาหกรรมอื่นๆ
- วิศวกรทุกส่วนงาน ผู้จัดการ ผู้บริหาร
- หัวหน้างาน QC/QA , R&D, New Model
- ช่างเทคนิค
- บุคลากรที่เกี่ยวข้อง หัวหน้างาน
-
เพิ่มศักยภาพให้บุคลากรในองค์กรต่าง ๆ มีความรู้ ความความสามารถ มีศักยภาพในภาคอุตสาหกรรม สามารถทำงานเชิงรุกเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดข้อกฎหมาย ลดต้นทุนในการผลิต พัฒนาคุณภาพสินค้าและการทำงาน ให้ก้าวทันต่อเศรษฐกิจในปัจจุบัน