ให้บริการด้านการฝึกอบรม บุคลากรด้านการจัดการและอนุรักษ์พลังงาน บุคลากรด้านบริหารการผลิต
อบรมบุคลากรด้านการบริหารควบคุมและประกันคุณภาพ
ข้อกำหนดข้อกฎหมายการควบคุมสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม SOC / ELV / RoHs 1.0 / RoHs 2.0 / REACH Annex VI / XV / XIV / AVII / SVHC / PFOS / PFOA / DMF / VOC / MDA / SCCPs / POPs / Prop65 / ELV Annex II / ELV Waste Packaging Waste / Lead in Solder / CMR / GADSL / IMDS / IMDS-a2 / IMDS-AI / CAMDS / CDX etc. ข้อกำหนด 3R (Reuse / Recycle / Recovery) Recyclability และ Recoverability ตามข้อกำหนดมาตรฐาน ISO 22628 และในภาคอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์นั้น ตั้งแต่ระดับผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ Original Equipment Manufacturer (OEM) / Replacement Equipment Manufacturer (REM) ซึ่งเป็นผู้กำหนดและควบคุมวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องและเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายรวมถึงผู้รับจ้างช่วงผลิตลำดับทีหนึ่ง (Tier 1) ผู้รับจ้างช่วงผลิตที่เป็นต้นน้ำ (Tier..n) ที่เป็นผู้ควบคุมการใช้วัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของลูกค้าและข้อกฎหมาย ซึ่งต้องดำเนินการควบคุมและจัดทำรายงานอย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล
ส่วนการอนุรักษ์พลังงานนั้นก็เป็นอีกข้อกำหนดที่จำเป็นอย่างมากในทุกๆอุตสาหกรรมต้องดำเนินการ และสำหรับผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์และผู้รับจ้างช่วงผลิตทุกลำดับขั้น การกำหนดหรือเลือกใช้วัตถุดิบมาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นถือว่ามีความสำคัญอย่างมากเมื่อผลิตภัณฑ์เหล่านั้นสิ้นอายุขัย การย่อยสลาย และสารเคมีตกค้างในสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตและมีผลโดยตรงต่อภาวะโลกร้อนหรือภาวะเรือนกระจก เนื่องจากทุกอุตสาหกรรมจำเป็นต้องใช้พลังงานมา Support การผลิต อาทิ เช่น พลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า ด้านระบบทำความเย็น ระบบปรับอากาศ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นทุกๆอุตสาหกรรมจึงต้องดำเนินการด้านการจัดการพลังงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามข้อกำหนดด้าน การประเมินวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment : LCA) , Carbon Footprint for Product : CFP, Carbon Footprint for Organization : CFO และ ISO 50001 หากบริษัทฯใดไม่ดำเนินการจะถูกสั่งห้ามไม่ให้ทำการผลิต ห้ามส่งออกและซื้อขายสินค้าโดยเด็ดขาด
วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม
- เพื่อให้เข้าใจเป้าหมายการควบคุมสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดข้อกฎหมาย
อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์
- เพื่อให้เข้าใจขั้นตอนและวิธีการดำเนินการควบคุมสารต้องห้ามหรือสารอันตรายที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ในผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องและเป็นไปตามข้อกำหนดของอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์
- เพื่อให้สามารถกรอกข้อมูลและจัดทำรายงานการควบคุมสารปนเปื้อนได้อย่างถูกต้องตามหลักข้อกฎหมายและมาตรฐานสากล
- เพื่อให้เข้าใจหลักการและการดำเนินการด้านการจัดการพลังงานให้สอดคล้องกับข้อกำหนดต่างๆ ตามมารตรฐานสากล
Day 1
หลักสูตร : ข้อกำหนดการควบคุมสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์และการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม
เวลา |
รายละเอียดเนื้อหา |
08.30 – 09.00 น. | ลงทะเบียน |
09.00– 10.30 น. |
· หลักการและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องในการควบคุมสารปนเปื้อน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ -. ข้อกำหนดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment : LCA) -. ข้อกำหนด Carbon Footprint for Product : CFP -. ข้อกำหนด Carbon Footprint for Organization : CFO -. ข้อกำหนดการจัดการพลังงาน ISO 50001 |
10.30– 10.45 น. | พักเบรก |
10.45 – 12.00 น. |
· หลักการและข้อกำหนดในการควบคุมสารปนเปื้อน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ · End of Life Vehicle (ELV) -. ELV Annex II / ELV Waste packaging waste -. RoHs 1.0 / 2.0 -. REACH -. Annex VI / XV / XIV / XVII / SVHC |
12.00 – 13.00 น. | พักเที่ยง |
13.00 – 14.30 น. |
· ข้อกำหนด PFOS / PFOA / 76/769/EC · แนวทางการวางระบบการคบคุมสารปนเปื้อนในองค์กร · ข้อกำหนดสารกันความชื้นซิลิกาเจลหรือ DMF · ข้อกำหนด 3 R (Reuse / Recycle / Recovery ) (มาตรฐาน ISO 22628) |
14.30 –14.45 น. | พักเบรก |
14.45 –16.00 น. |
· Introduction International Material Data System : IMDS · ข้อกำหนด Soldering ใน IMDS · การกำหนด Material Classification ใน IMDS · ข้อกำหนด Polymerics Part Making / Material Labeling -. Plastic / Polymer / Duromers / Rubber / Elastomers (Mat’l Class) · ขอกำหนด Global Automotive Declarable Substance List : GADSL · ข้อกำหนดข้อกฎหมายแร่ความขัดแย้ง ( Conflict Mineral : CMR ) · ข้อกำหนดอื่นๆ IMDS a2 / IMDS AI / CDX · ข้อกำหนดใหม่ POPs / Prop65 |
Day 2
เวลา |
หัวข้อการฝึกอบรม |
08.30 – 09.00 | ลงทะเบียน |
09.00 – 10.30 |
• ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน • ผลกระทบเกี่ยวกับการใช้พลังงานขององค์กร • อุปกรณ์สิ้นเปลืองพลังงานในกระบวนการผลิต • อุปกรณ์สิ้นเปลืองพลังงานในสำนักงาน • แนวทางการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน • การจัดทำแผนการอนุรักษ์พลังงาน |
10.30 – 10.45 | พักเบรก |
10.45 – 12.00 |
• เรียนรู้ระบบและหลักการทำงาน / ค้นหาและจัดทำมาตรการประหยัดพลังงาน -. ระบบระบายอากาศ ( Ventilation System) -. เครื่องเชื่อมไฟฟ้า -. ระบบอัดอากาศ (Air Compressor) -. เตาอบ -. พัดลมเป่าระบายอากาศ |
12.00 – 13.00 | พักเบรกกลางวัน |
13.00 – 14.00 |
• เรียนรู้ระบบและหลักการทำงาน / ค้นหาและจัดทำมาตรการประหยัดพลังงาน -. พัดลมดูดระบายอากาศ -. ระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ -. ระบบปรับอากาศแบบแยกส่วน |
14.00 – 14.15 | พักเบรก |
14.15 – 16.00 |
• เรียนรู้ระบบและหลักการทำงาน / ค้นหาและจัดทำมาตรการประหยัดพลังงาน -. ระบบมอร์เตอร์ไฟฟ้า -. ระบบส่งจ่ายไฟฟ้า -. ระบบแสงสว่าง -. ระบบหม้อไอน้ำ (Boiler) -. ระบบหอผึ่งน้ำเย็น (Cooling Tower) -. อุปกรณ์สำนักงาน สรุป ถาม – ตอบ |
-
เพิ่มศักยภาพให้บุคลากรในองค์กรต่าง ๆ มีความรู้ ความความสามารถ มีศักยภาพในภาคอุตสาหกรรม สามารถทำงานเชิงรุกเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดข้อกฎหมาย ลดต้นทุนในการผลิต พัฒนาคุณภาพสินค้าและการทำงาน ให้ก้าวทันต่อเศรษฐกิจในปัจจุบัน