หลักสูตร เทคนิคการเขียนตารางควบคุมกรรมวิธีการผลิต Control Plan

Posted on Posted in Public Training

ให้บริการด้านการฝึกอบรม บุคลากรด้านการจัดการและอนุรักษ์พลังงาน บุคลากรด้านบริหารการผลิต
อบรมบุคลากรด้านการบริหารควบคุมและประกันคุณภาพ

หลักสูตร เทคนิคการเขียนตารางควบคุมกรรมวิธีการผลิต Control Plan

หลักการและเหตุผล

ตารางควบคุมกรรมวิธีการผลิต “Control Plan” ถือเป็นเอกสารสำคัญอีกหนึ่งอย่างที่ใช้แสดงขั้นตอนโดยรวมของกระบวนการผลิต และผลสะท้อนขององค์กรว่าบรรลุถึงข้อกำหนดด้านคุณภาพ ต้นทุน การผลิต และการส่งมอบ

ซึ่งตามมาตรฐานข้อกำหนด IATF 16949 กำหนดให้มีขั้นตอนการควบคุม 3 ขั้นตอนคือ

  1. Prototype Control Plan
  2. Pre-Production / Pre-Lunch Control Plan
  3. Mass Production Control Plan

Control Plan จะถูกจัดทำขึ้นหลังจากการวิเคราะห์ PFMEA เสร็จแล้ว หรือ Output PFMEA นั่นเอง ดังนั้นการเขียนหรือการจัดทำ Control Plan ต้องรวมถึงการระบุคุณลักษณะและคุณลักษณะพิเศษทั้งหมดด้วยวิธีการควบคุมที่เหมาะสม

หลักสูตรนี้จึงเหมาะกับผู้เรียนที่ไม่มีความรู้ ไม่เข้าใจเกี่ยวกับหรือการจัดทำ Control Plan และพนักงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดทำ Control Plan และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและวางแผนเตรียมความพร้อมการตรวจติดตาม(Audit) จากลูกค้า

 

วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม

  1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจหลักการเขียนตารางกรรมวิธีควบคุมการผลิต (Control Plan)
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำข้อมูลจากข้อกำหนดลูกค้า Drawing และ PFMEA มาจัดทำเป็นตารางกรรมวิธีควบคุมการผลิต (Control Plan)ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนเตรียมความพร้อมการตรวจติดตามจากลูกค้า
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

เนื้อหาหลักสูตร : เทคนิคการเขียนตารางกรรมวิธีการผลิต Control Plan

เวลา

หัวข้อการฝึกอบรม

08.30 – 09.00

ลงทะเบียน
 

09.00 – 10.30

• ความหมายและวัตถุประสงค์ของ Control Plan

• ประเภทของ Control Plan

• ส่วนประกอบของ Control Plan

• เทคนิคการอ่านแบบทางวิศวกรรม (Drawing)

–  การกำหนดจุดตรวจวัด

–  การกำหนดเครื่องมือวัด

–   การควบคุมระหว่างกระบวนการผลิต

• เทคนิคการอ่านค่าพิกัดความคลาดเคลื่อน GD&T

–   การกำหนดจุดตรวจวัด

–   การกำหนดเครื่องมือวัด

–   การควบคุมระหว่างกระบวนการผลิต

10.30 – 10.45

พักเบรก

 

10.45 – 12.00

• เทคนิคการอ่าน Process Flow Diagram (PFD) และ PFMEA เพื่อนำมาเขียน

Control plan

• วิธีการนำเอาข้อกำหนดของลูกค้าใส่ลงใน Control Plan

• การอ่านและการใช้ Control plan

12.00 – 13.00

พักเที่ยง

 

13.00 – 14.00

• การกำหนด Product / Process characteristic and Classification 

• การกำหนด Control Method

• การกำหนด Re-action Plan

• ขั้นตอนการเขียน Control Plan

14.00 – 14.15

พักเบรก

14.15 – 16.00

 

• กิจกรรมกลุ่ม Work shop case study + นำเสนอผลการวิเคราะห์และอภิปราย

ถาม – ตอบ

 

วิทยากร :  อาจารย์พิทักษ์  บุญชม

ประวัติการศึกษา

  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีสาขา วิศวกรรมเครื่องกล
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตขอนแก่น(ไทย – เยอรมัน) สาขา เครื่องกล

ประสบการณ์ด้านโรงงานอุตสาหกรรม

  • ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายควบคุมและประกันคุณภาพ บริษัท YOUNGSIN METAL (THAILAND)
  • ผู้จัดการฝ่ายควบคุมและประกันคุณภาพ บริษัท YOUNGSIN METAL (THAILAND)
  • หัวหน้าทีมวิศวกรอาวุโสฝ่ายควบคุมและประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ใหม่ บริษัท มาสด้า พาวเวอร์เทรน แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
  • หัวหน้าฝ่ายประกันและควบคุมคุณภาพ บริษัท แอดวิคส แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
  • หัวหน้าฝ่ายวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และควบคุมคุณภาพ บริษัท มาคิตะ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
  • หัวหน้าฝ่ายประกันและควบคุมคุณภาพ บริษัท ปัญจวัฒนาพลาสติก จำกัด(มหาชน)
  • หัวหน้าโครงการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และรักษาการหัวหน้าแผนกประกันคุณภาพ บริษัท สุภาวุฒิ อินดัสทรี จำกัด
  • หัวหน้าแผนกควบคุมคุณภาพ บริษัท ไทเซอิ พลาส ( ประเทศไทย ) จำกัด
  • หัวหน้าแผนกประกันและควบคุมคุณภาพ บริษัท เอสเจ มิโครน จำกัด
  • วิศวกรฝ่ายประกันคุณภาพ บริษัท อินเนอร์ยี่ ออโตโมทิฟ ซิสเต็มส์ ( ประเทศไทย ) จำกัด
  • วิศวกรฝ่ายควบคุมคุณภาพและระบบการควบคุมสารปนเปื้อนในอุสาหกรรมยานยนต์ ( SOC, ELV, RoHS, REACH – SVHC, IMDS, PFOS, PFOA, DMF, Etc. ) บริษัท ไทยซัมมิท มิทซูบะ อิเล็กทริค แมนูแฟคเจอริ่ง จากัด
  • วิศวกรโรงงานฝ่ายควบคุมคุณภาพ บริษัท เอ็น ซี ไอ จำกัด
  • วิศวกรเครื่องกล บริษัท บิลเลี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
  • วิศวกรที่ปรึกษาด้านการอนุรักษ์พลังงานหม้อไอน้ำ บริษัท มาสเตอร์ คอม เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

ประสบการณ์ฝึกอบรมต่างประเทศ

  • ศึกษาดูงาน / ฝึกอบรมหลักการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ขั้นสูงและเทคนิคการวิเคราะห์ปัญหาและเทคนิคการวิเคราะห์ปัญหา หาสาเหตุผลิตภัณฑ์ขั้นสูง ที่บริษัท มาสด้า คอร์ปอเรชั่น ณ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลา 4 เดือน
  • ศึกษาดูงาน / ฝึกอบรมหลักการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ขั้นสูงที่บริษัท ยังซิน เมทัล จำกัด ณ ประเทศเกาหลีใต้ เป็นเวลา 45 วัน
  • ฝึกอบรม หัวข้อระบบวัสดุสากลขั้นพื้นฐานและขั้นสูง Basic & Advance International Material Data System (IMDS), REACH / RoHS , Conflict Mineral, Carbon Footprint for Organization : CFO, Carbon Footprint for Product : CFP, Life Cycle Assessment : LCA, ISO 50001 อนุรักษ์พลังงาน ENSYS , EnMS ณ ประเทศอินเดีย

ประสบการณ์ด้านวิทยากรที่ปรึกษา

  • เป็นวิทยากรที่ปรึกษาในด้านกฎระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ อาทิ เช่น ระบบรายงานวัสดุสากลขั้นพื้นฐานและขั้นสูง Basic & Advance International Material Data System ( IMDS ), การพัฒนาพนักงานฝ่ายควบคุมคุณภาพและฝ่ายผลิต, การวิเคราะห์ปัญหางาน, ภาวะผู้นำ, การสร้างพนักงานคุณภาพในองค์กร, การควบคุมคุณภาพ, และการอนุรักษ์พลังงาน, ระบบการควบคุมสารปนเปื้อนในอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิคส์ อุตสาหกรรมไฟฟ้า และอุตสาหกรรมอื่นๆ ให้กับโรงงานและบริษัทฯ เป็นจำนวนมาก

 

ลักษณะการอบรม :

  1. การบรรยายสื่อสาร 2 ทาง โดยทฤษฎี 30 % ปฏิบัติ 70 %
  2. ทำ Workshop กิจกรรมกลุ่ม + นำเสนอผลการวิเคราะห์และอภิปราย

Note : สอนจากประสบการณ์ในการทำงานจริง และการฝึกอบรมจากต่างประเทศ

 

ผู้ควรเข้ารับการอบรม

  • ผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ , อุตสาหกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์, อุตสาหกรรมอื่นๆ
  • วิศวกรทุกส่วนงาน,
  • หัวหน้างาน QC/QA , R&D, New Model
  • ช่างเทคนิค
  • บุคลากรที่เกี่ยวข้อง หัวหน้างาน